วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

การสร้างสื่อ 2 มิติ

การสร้างสองมิติ
การออกแบบ (two-dimensional design)เป็นการออกแบบบนระนาบรองรับ เช่น กระดาษ แผ่นใส ผ้าใบ ผนังคอนกรีต เป็นต้น ซึ่งตรวจสอบมิติได้เพียงความกว้างของความยาวไม่มีความหนาให้ตรวจสอบได้ในการออกแบบสองมิติสามารถจำแนกมิติของการรับรู้ได้ 2 ประการ คือ
(1).มิติที่ตรวจสอบได้เป็นการออกแบบให้มีรูปร่างต่างๆ โดดยใช้ส่วนประกอบของการออกแบบสามารถรับรู้และตรวจสอบมิติกว้างยาวผิวหน้าของระนาบรองรับได้
(2).มิติที่ตรวจสอบไม่ได้เป็นการออกแบบสองมิติ แต่ในการรับรู้ด้วยสายตาและความรู้สึกดูเหมือนภาพสามมิติแต่ตรวจสอบไม่ได้ด้วยการจัด เปรียบเทียบได้กับภาพถ่ายของโต๊ะซึ่งสามารถรับรู้ได้ว่ามีความกว้าง ความยาวและความหนา แต่ภาพที่ปรากฏมีเพียงความกว้างและความยาวเท่านั้น มิติที่ตรวจสอบไม่ได้นี้เรียกว่ามิติมายา หรือมิติลวง (illussion)
(2.1) วิธีทัศนียภาพสิน เป็นการใช้เส้นแสดงขนาดสัดส่วน ซึ่งสัมพันธ์กับการมองเห็นจริงๆ คือสิ่งที่อยู่ใกล้กว่าสิ่งที่อยู่ไกล เช่นเดียวกับการเขียนทัศนียภาพ
(2.2) วิธีทัศยภาพบรรยากาศ เป็นการสร้างบรรยากาศให้พร่ามัว โดยเฉพาะที่อยู่ลึกเข้าไปทางด้านล่าง ดูเหมือนมีหมอกปกคลุมอยู่ ทำให้สิ่งที่อยู่ใกล้ดูชิด สิ่งที่อยู่ไกลดูไม่ชัด
(2.3) วิธีมองจากด้านบน เป็นการแสดงความใกล้ไกลด้วยวิธีการมองจากด้านบนหรือมองจากที่สูงลงมา สิ่งที่ใกล้จะอยู่ด้านล่างของพื้นฐานและสิ่งที่อยู่ไกลจะอยู่ด้านบนพื้นล่าง
(2.4) วิธีทัศยภาพสี เป็นการแสดงความตื้นลึกโดยการใช้น้ำหนักของสี น้ำหนักแก่และน้ำหนักอ่อน สามารถแสดงความใกล้หรือไกลได้ด้วยกันทั้งคู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับในการใช้ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการมองเห็นเป็นสำคัญ
(2.5) วิธีบังซ้อนกัน เป็นการแสดงความตื้นลึกด้วยการทับกัน บังกันหรือซ้อนทับกัน สิ่งที่ถูกทับหรือไกลกันที่ทับ
(2.6) วิธีเอ็กซ์เรย์ เป็นการแสดงความตื้นลึกหรือใกล้ไกลด้วยความโปร่งใส เหมือนกับพิมพ์เอ็กซ์เรย์ทางการแพทย์ แต่บางครั้งไม่อาจจะสรุปให้เป็นที่แน่นอนได้ว่าสิ่งที่อยู่ใกล้หรืไกลกว่ากันสำหรับการจัดภาพในงานออกแบบสองมิติ ถ้าจะให้ได้ผลสมบูรณ์ควรคำนึงถึงสิ่งที่สำคัญ2 ประการคือ
(1) ขอบภาพ เป็นการจัดภาพให้ส่วนประกอบในภาพสัมพันธ์กันเองและสัดส่วนประกอบทั้งหมดสัมพันธ์กับขอบภาพด้วย
(2) บริเวณวางที่ราบเรียบ เป็นการจัดภาพให้เกิดความใกล้ไกลบนพื้นที่เรียบ ซึ่งอาจใช้วิธีทับซ้อนกันหรือวิธีอื่นๆ แต่ไม่ค่อยนิยมให้เหมือนจริงตามธรรมชา

ไม่มีความคิดเห็น: